วัสดุจากท้องทุ่ง โอบอุ้ม ปกไทย

p1 revเกษตรกร เป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก แต่ปรากฎว่ายังมีประชากรกว่า 850 ล้านคนทั่วโลกที่เจ็บป่วยเพราะขาดแคลนสารอาหาร ถ้ามองในแง่อุปสงค์ อุปทาน ก็พบว่าประเทศที่ผลิตอาหารเองได้ มีความอุดมสมบูรณ์ก็บริโภคอย่างไม่ค่อยเห็นคุณค่า ขณะที่ประเทศที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้ด้วยสภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศ ก็ขาดแคลนอาหารสำหรับเลี้ยงชีพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศยากจน ซึ่งก็ปรากฎเป็นปัญหาระดับนานชาตินอกเหนือจากปัญหา ภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายประเทศเป็นกังวล และถกกันในหลายเวทีถึงวิธีป้องกันการขาดแคลนอาหารที่ดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ผลิตอาหาร (เกษตรกร) มีจำนวนลดลงมาก พื้นที่เพาะปลูกอาหารน้อยลง กลายเป็นพื้นที่ปลูกพืชพลังงานแทน จึงเป็นสาเหตุของงานวิจัยพัฒนาในการเพิ่มผลิตผลต่อหน่วยพื้นที่ให้มากขึ้น ด้วยการพัฒนาพันธุ์พืช เทคโนโลยีการผลิต รวมถึงการตัดต่อพันธุกรรมนั่นเอง  เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของการลดจำนวนลงของของ เกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารป้อนโลก เมื่อพิจารณา เกษตรกร ไทยเป็นกรณีศึกษา จะพบว่า เกษตรกร โดยรวมมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ค่อยดีนัก ขาดความคล่องตัวทางการเงินสูง สภาวะการทำงานที่หนักและไม่สุขสบายเพราะอยู่กลางแจ้ง อากาศแปรปรวนส่งผลให้ได้ผลิตผลไม่เต็มที่ ราคาผลผลิตตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตสุูงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น ดังปรากฎให้เห็นการประท้วงของ เกษตรกร ทุกปี ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาเบื้องต้นเป็นเหตุให้จำนวน เกษตรกร ลดลง เปลี่ยนไปประกอบอาชีพแรงงานไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก

p2 editขณะที่ เกษตรกร ที่ยังคงประกอบอาชีพเดิมอยู่่ มักตกเป็นจำเลยของสังคมว่าเป็นผู้ก่อมลพิษทางอากาศ เพราะหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว มักจะเผาวัสดุเหลือใช้การเกษตร ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติของ เกษตรกร ในเอเชีย และเป็นเหตุของการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศ นำมาซึ่ง ปัญหาโลกร้อน ที่เป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน แต่ถ้าไม่เผาวัสดุเหลือใช้การเกษตร และปล่อยในเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ ก็ใช้เวลานาน โดยเฉพาะถ้าเป็นการเน่าเปลื่อยในสภาพที่ชื้นแฉะหรือน้ำท่วม ก็เป็นสาเหตุให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนมากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 300 เท่า อย่างไรก็ดียังไม่ปรากฎว่ามีหน่วยงานใดให้ความสำคัญต่อการคิดหาวิธีจัดการวัสดุเหลือใช้การเกษตรอย่างจริงจัง สร้างสรรค์ และปฏิบัติจริงได้ตามวิถีเกษตร เพราะหากลองคิดดูว่าการจัดการขยะในระดับครัวเรือนให้เรียบร้อยยังทำได้ยาก แล้วจะจัดการขยะในสวน ในท้องทุ่งที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จะทำได้อย่างไร

โคโคบอร์ด เป็นแนวคิดหนึ่งในการเพิ่มมุลค่าให้วัสดุเหลือใช้การเกษตร สร้างรายได้เสริมแก่ เกษตรกร ลดการเผาวัสดุเหลือใช้การเกษตร และได้ผลิตภัณฑ์ วัสดุทดแทน ไม้ ที่มัศักยภาพทางเศรษฐกิจ ลดการตัดต้นไม้เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิต แผ่นไม้ รักษาพื้นที่ป่าและความหลายทางชีวภาพอย่างสร้างสรรค์ ปัจจุบัน โคโคบอร์ด มีพัฒนาการไปอีกขั้น ด้วยการเป็นเจ้าของโรงงานซึ่งอยู่่ระหว่างก่อสร้าง แทนการเช่่าซึ่งมีพื้นที่ขนาดเล็กเกินไปไม่เหมาะสม โดยมีหน่วยงานและองค์กรจากต่างประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ให้เงินสนับสนุนบางส่วน เรายังมีความจำเป็นต้องปรับปรุงสายการผลิตเพื่อให้แข่งขันทางการตลาดได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงออกแบบและพัฒนาสายการผลิตขนาดเล็กเพื่อเตรียมถ่ายทอดวิธีการผลิต ไม้อัด ฟางข้าว ให้ เกษตรกร ไทย ภายใต้โครงการ “สร้างความมั่นคงให้ เกษตรกร ไทยกับ แผ่นไม้ โคโคบอร์ด” โดยที่ โคโคบอร์ด จะทำหน้าที่ฝ่ายการตลาดส่งเสริมคู่ขนานกันไป

cropped-Interior-material3.jpgเราเชื่อมั่นว่ามีพื้นที่ทางการตลาดสำหรับแผ่น วัสดุทดแทน ไม้ นี้อย่างมหาศาล เนื่องจากแผ่น วัสดุทดแทน ไม้ นี้สามารถใช้เป็นวัสดุ ตกแต่งภายใน ตกแต่งบ้าน สำหรับทำ พื้น ผนัง ฝ้า เพดาน ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และใช้ผลิตเป็น เฟอร์นิเจอร์ ได้ดี จึงมีขนาดทางการตลาดที่ใหญ่มาก เพราะเป็นแผ่นวัสดุที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีลวดลายสีสันสวยงามเป็น เอกลักษณ์ ตามธรรมชาติของวัสดุดิบ กันลามไฟ ทนชื้นสูง ทนปลวก ไม่มีสารเคมี จึงเป็นที่สนใจของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก เพราะตลอด 2-3 ปีนี้ มีนักลงทุนในอินเดีย พม่า เวียดนาม และแอฟริการตะวันออก ให้ความสนใจให้เราขยายการผลิตในประเทศเหล่านั้น โดยนักลงทุนภาคเอกชนร่วมกับหน่วยงานรัฐ นั่นเพราะเขาเห็นประโยชน์ของการแก้ปัญหาการเผาทำลาย และยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพทางการตลาดนั่นเอง

เราคาดหวังว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยให้ความสนใจและสนับสนนโครงการสร้างสรรค์อย่างนี้บ้าง ทั้งในแง่ทุนสนับสนุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการสนับสนุนด้านอื่นๆจากบุคคลทั่วไป เช่น นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ช่างซ่อมบำรุง และอื่นๆทั้งในรูปแบบของอาสาสมัคร หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระก็ตาม หรือพื้นที่แสดงสินค้าก็ดี สามารถติดต่อเราได้ที่ 080 5594446 หรือ อีเมล์มาที่ info@kokoboard.com

%d bloggers like this: